ชลบุรี เอฟซี   | ข้อมูลทีม |   | นักเตะ |   | ตารางการแข่งขัน |   | ข่าว |   | ไฮไลท์ |  

ชลบุรี เอฟซี ข้อมูลทีม ชลบุรี เอฟซี ฉายา ชลบุรี เอฟซี ประวัติ ชลบุรี เอฟซี

   ข้อมูล ประวัติ สโมสร ทีม ฉายาชลบุรี เอฟซี ชลบุรี เอฟซี


ชลบุรี เอฟซี

สโมสรฟุตบอลชลบุรี[3] หรือ ชลบุรี เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยเป็นทีมจากจังหวัดชลบุรี ได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยลีก โดยย้ายจากโปรลีก เคยได้ตำแหน่งชนะเลิศในปี 2550 รองชนะเลิศในปี 2551, 2552, 2554 ปัจจุบันใช้สนามชลบุรีสเตเดียม เป็นสนามเหย้าแทน สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี

ยุคเริ่มต้น (โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา)

ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี แต่เดิมเป็น ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลสโมรสรชิงถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับทีม สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1

ต่อมาได้ย้ายไปเล่นใน โปรวินเชียลลีก ในชื่อ สโมรสรฟุตบอลชลบุรี และได้แยกทีม สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ซึ่งเล่นในดิวิชัน 1 อยู่ โดยทีมสโมสรชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และได้ชนะเลิศโปรลีกในปี 2548 และได้เลื่อนมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปี 2549

ในปี 2549 ทีมชลบุรี ร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามของ สโมสรราชประชา และเข้าร่วมแข่ง สิงคโปร์คัพ และได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้อันดับสอง รองจาก สโมสรฟุตบอลทัมปิเนสโรเวอร์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
[แก้] ยุคปัจจุบัน

ในปี 2550 สโมสรฟุตบอลชลบุรี ภายใต้การนำของหัวหน้าผู้ฝึกสอน จเด็จ มีลาภ สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2550 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร และได้สิทธิเป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก

ปี 2551 สโมสรฟุตบอลชลบุรีสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2550 มาได้ แต่ไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกไว้ได้ ทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศ ส่วนทีมชนะเลิศได้แก่สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ปัจจุบันคือสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์พีอีเอ) ทำให้ต้องไปเล่นในรายการเอเอฟซีคัพซึ่งเป็นถ้วยรองในระดับทวีปเอเชียแทน

ปี 2552 สโมสรฟุตบอลชลบุรี มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยได้เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง จากจุฬายูไนเต็ด มาคุมทีมแทนจเด็จ มีลาภ ที่ย้ายไปคุมทีมพัทยายูไนเต็ด ในปีนี้สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2551 มาครองได้อีกครั้ง แต่ในฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง ส่วนทีมชนะเลิสได้แก่สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอกยูไนเต็ด

ในปี 2553 สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้ จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง พร้อมกับย้ายสนามเหย้าจากสนามสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มาที่สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ในฤดูกาลนี้ สโมสรฟุตบอลชลบุรีทำได้เพียงอันดับที่ 3 ในการแข่งขันไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ก็ยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในรายการมูลนิธิไทยคมเอฟเอคัพมาครองได้ เป็นครั้งแรก ทำให้ได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้ามร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการเอเอฟซีคัพ ประจำปี 2554

ในปี 2554 สโมสรฟุตบอลชลบุรีย้ายสนามเหย้าจากสนามสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตขลบุรี มาใช้สนามชลบุรีสเตเดียม โดยได้ วิทยา เลาหกุล ลงมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมเต็มตัว ทำงานร่วมกับ จเด็จ มีลาภ ซึ่งในปีเดียวกันนี้สโมสรสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2553 มาครองไว้ได้ ซึ่งถือเป็นสมัยที่สามในประวัติศาสตร์สโมสร และจบอันดับด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกเป็นสมัยที่ 3 แต่ได้สิทธิเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีกครั้ง เพราะบุรีรัมย์ยูไนเต็ดได้ตำแหน่งชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกและชนะเลิศเอฟเอคัพทั้งสองรายการ ทำให้สิทธิตัวแทนประเทศไทยอีกทีมจึงตกเป็นของชลบุรี

ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมที่มีการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม มีความเป็นมืออาชีพ และกองเชียร์ Blue Blood ที่เหนียวแน่น และเลื่องชื่อลือชาในลีลาการเชียร์
[แก้] แผนการจดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคล

เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 สโมสรฟุตบอลชลบุรีเตรียมจดทะเบียนสโมสรให้อยู่ในรูปของบริษัทนิติบุคคล โดยใช้ชื่อ บริษัท สโมสรฟุตบอลชลบุรี จำกัด พร้อมกับจดลิขสิทธิ์ฉายา ฉลามชล และโลโก้ปลาฉลามของสโมสรด้วย ซึ่งบริษัทจะทำหน้าที่อย่างเต็มตัวในการแข่งขันไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกฤดูกาลปี พ.ศ. 2552 เพื่อความสะดวกในการวางงบประมาณทำทีมและแผนงานต่าง ๆ ทั้งนี้ อรรณพ สิงห์โตทอง ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ประมาณการว่าจะใช้เงินทุนในการจัดตั้งไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 7 คน ส่วนอุปสรรคที่จะได้พบหลังจากการจดทะเบียน คือ สโมสรรวมถึงนักฟุตบอลทุกคนจะต้องเสียภาษีรวมแล้วประมาณร้อยละ 7 ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอกับงบประมาณการทำทีมที่ได้รับทุกปี โดยในประเด็นนี้ อรรณพกล่าวว่าจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นพอที่จะใช้จ่ายในทุกด้าน[4]
ตราสโมสรเก่า
[แก้] เข้าร่วมแข่งขันในระดับทวีปครั้งแรก

ทีมชลบุรีได้สิทธิร่วมแข่งขันในเอเอพซีแชมเปียนส์ลีกในฐานะผู้ชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสาย ชลบุรีได้อยู่ในสาย G แข่งขันกับ เมลเบิร์น วิกตอรี (ออสเตรเลีย) กัมบะ โอซะกะ (ญี่ปุ่น) และ ชุนนัม ดรากอนส์ (เกาหลีใต้) โดยทีมชลบุรีได้ใช้ สนามศุภชลาศัย เป็นสนามเหย้าแทน สนามเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งไม่ผ่านการตรวจมาตรฐานของ เอเอฟซีซึ่งทีมชลบุรี โชว์ฟอร์มใน 2 นัดแรกได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อนัดแรกสามารถบุกไปเสมอกัมบะ โอซะกะได้ถึงถิ่น แบบชนิดที่เรียกว่าโดนเจ้าถิ่นตีเสมอในช่วงทดเวลาบาดเจ็บอย่างน่าเสียดาย และต่อมาในนัดที่สอง สามารถเปิดบ้านไล่ถล่ม เมลเบิร์น วิคตอรี่ ยอดทีมจากออสเตรเลีย ไปได้แบบขาดลอย 3 ประตูต่อ 1 แต่ทว่า ใน 4 นัดที่เหลือ ชลบุรีสามารถเก็บเพิ่มได้อีกแค่แต้มเดียว ในนัดที่เปิดรังเสมอกับ ชุนนัม ดรากอนส์ จากเกาหลีใต้ ทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว ชลบุรีจึงได้อันดับบ๊วยของกลุ่ม ชวดเข้าไปเล่นในรอบต่อไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ถือว่าเป็นผลงานที่น่าประทับใจสำหรับชลบุรี สำหรับในการแข่งขันระดับทวีปครั้งแรก
[แก้] เอเอฟซีคัพ

ทีมชลบุรีได้สิทธิร่วมแข่งขันในรายการเอเอฟซีคัพหลังทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 ซึ่งรายการนี้เป็นรายการที่รองมาจากเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสายรอบแรก ชลบุรีได้อยู่ในสาย G โซนตะวันออก โดยอยู่ร่วมสายเดียวกับทีม ฮานอย เอซีบี (เวียดนาม) อีสเทิร์น แอธเลติก (ฮ่องกง) และ เคดาห์ (มาเลเซีย)[5]

ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมชลบุรีเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะแชมป์ของกลุ่ม G ไปเจอกับทีม พีเอสเอ็มเอส เมดาน จากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งชลบุรีเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์ 4 ประตูต่อ 0[6] ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ พบกับบินห์เยือง สโมสรจากเวียดนาม แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังเมื่อทีม ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย

ในปี พ.ศ. 2554 ทีมชลบุรีได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันรายการเอฟเอคัพอีกครั้งในฐานะแชมป์เอฟเอคัพ ผลการจับสลากแบ่งสายชลบุรีได้อยู่สาย H ร่วมสายกับ สโมรเปอซิปุระชัยปุระ จากซูเปอร์ลีกอินโดนีเซีย สโมสรเซาต์ไชน่า จากประเทศฮ่องกง และสโมสรคิงฟิชเชอร์อีสต์เบงกอล จากประเทศอินเดีย ผลการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มปรากฏว่าชลบุรีสามารถคว้าอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม H ด้วยผลงาน ชนะ 4 เสมอ 1 และแพ้ 1 มี 13 คะแนน ได้สิทธิเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายและได้สิทธิเล่นเป็นเจ้าบ้านพบกับสโมสรฟุตบอลศรีวิจาย่า จากประเทศอินโดนีเซีย[7] และสามารถเอาชนะเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ โดยเข้าไปพบกับทีมนาซาฟจากอุซเบกิสถาน โดยชลบุรีเป็นฝ่ายแพ้การดวลจุดโทษนาซาฟหลังประตูรวมสองนัดเท่ากัน 1 ประตู ต่อ 1 ตกรอบไปในที่สุด


[แก้] เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2012

ภายหลังจากเอเอฟซีปรับจำนวนทีมจากประเทศไทยให้สามารถเข้าร่วมแข่งขันในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม 1 ทีม และรอบคัดเลือกอีก 1 ทีม ทำให้ชลบุรีได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบคัดเลือกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกโซนตะวันออกอีกครั้ง ด้วยสาเหตุที่ว่าทีมบุรีรัมย์ยูไนเต็ดคว้าตำแหน่งชนะเลิศทั้งรายการไทยพรีเมียร์ลีกและรายการเอฟเอคัพทั้งสองรายการ ทำให้ชลบุรีซึ่งได้ตำแหน่งรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกใด้สิทธิตัวแทนของประเทศไทยอีกหนึ่งทีม โดยจะเข้าไปพบกับโปฮัง สตีลเลอร์ส จากเกาหลีใต้ ก่อนที่จะเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มต่อไป
 


ชลบุรี เอฟซี ข้อมูลทีม ชลบุรี เอฟซี ฉายา ชลบุรี เอฟซี ประวัติ ชลบุรี เอฟซี